หลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ (Solar Rooftop) มีแบบไหนบ้าง และคุ้มค่าจริงไหม?

หลายคนอาจจะเคยได้ยินเรื่องแผ่นโซลาร์เซลล์กันมาบ้างแล้ว ในสมัยก่อนเรามักจะเห็นการติดตั้งแผ่นโซลาร์เซลล์มากขึ้นภายในโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากใช้ไฟฟ้าเยอะ แต่ในปัจจุบันมีการใช้กับบ้านเนื่องจากราคาแผงโซลาร์ถูกลงมาก และค่าไฟแพงขึ้น จึงทำให้หลายคนหันมาใช้แผ่นโซลาร์เซลล์มากขึ้น วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับหลังคาบ้านโซลาร์เซลล์ รวมถึงบอกหมดเปลือกว่าหลังคาบ้านแบบนี้คุ้มค่าจริงหรือไม่ ตามมาอ่านกันได้เลย

หลังคาโซลาร์เซลล์ คืออะไร

หลังคาโซลาร์เซลล์ solar rooftop

หลังคาโซลาร์เซลล์ (Solar Roof) หรือรู้จักกันในชื่อของหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ถูกเรียกแบบนี้เพราะว่าหลังคานี้เป็นการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง และส่งไปยังอินเวอร์เตอร์ เพื่อเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับ เพื่อนำมาใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ภายในอาคาร บ้านเรือนนั่นเอง โดยแผงโซลาร์เซลล์นี้มีทั้งหมด 3 ประเภทด้วยกัน

type of solar cell

1. โมโน โซลาร์เซลล์ (Mono Solar Cell)

โมโน โซลาร์เซลล์ (Mono Solar Cell) เป็นชนิดที่มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าสูงที่สุด แม้อยู่ในภาวะแสงแดดน้อย เนื่องจากทำมาจาก Silicon ที่มีความบริสุทธิสูง ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนานที่สุดถึง 25 ปี เหมาะกับคนที่มีพื้นที่หลังคาในการติดตั้งน้อย และต้องการประสิทธิภาพต่อแผงสูง ซึ่งแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง

2. โพลีโซลาร์เซลล์ (Poly Solar Cell)

มีคุณสมบัติในการผลิตกระแสไฟฟ้าน้อยกว่าแผงแบบโมโนเนื่องจากทำมาจาก Silicon ที่ขั้นตอนการผลิตแตกต่างกับแผงแบบโมโน มีอายุการใช้งานประมาณ 20-25 ปี เหมาะกับคนที่อยากได้ประสิทธิภาพการใช้งานใกล้เคียงกับแผงโมโน แต่ราคาต่ำกว่า

3. อะมอร์ฟัสโซลาร์เซลล์ (Amorphous Solar Cell)

เป็นแผงที่มีราคาถูกที่สุดแต่ผลิตกระแสไฟฟ้าและอายุการใช้งานน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ เนื่องจากเป็นการนำเอาสารที่มีคุณสมบัติในการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้ามาฉาบเป็นแผ่นฟิลม์บาง ๆ เหมาะกับคนที่ใช้ทำเกษตรกรรมเพราะต้องใช้พื้นที่เยอะ ไม่เหมาะมาติดตั้งบนหลังคา ซึ่งชนิดนี้ราคาถูกแต่มีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าวัสดุอื่นๆ

ระบบของหลังคาโลาร์เซลล์

1. ระบบออนกริด (On-Grid System)

on grid system

ระบบนี้บุคคลทั่วไปนิยมใช้กันมากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูกเพราะไม่มีการกักเก็บไฟไว้ใช้ในเวลาที่ไม่มีแสงแดด ไม่มีแบตเตอรี่ที่ราคาค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นระบบนี้จะสามารถใช้ได้เพียงในเวลากลางวันขณะที่มีแสงแดด และคืนทุนได้รวดเร็ว กรณีที่แสงแดดไม่เพียงพอ เครื่องแปลงไฟ (Inverter) จะสลับไฟเปลี่ยนเป็นใช้ไฟฟ้าตามปกติแทน เพราะฉะนั้นระบบนี้จะเหมาะกับบ้านที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ บ่อย และโฮมออฟฟิศที่จำเป็นต้องใช้ไฟในเวลากลางวันสามารถใช้ไฟจากพลังงานแสงอาทิตย์มาทดแทนเพื่อลดค่าใช้จ่ายในบ้านได้ ซึ่งจะเชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายไฟของการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมืภาค สามารถขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้แต่จำเป็นต้องขออนุญาติการติดตั้งเสมอ

2. ระบบออฟกริด (Off-Grid System)

off grid system

เป็นระบบที่มีแบตเตอรี่สำหรับเก็บไฟเป็นของตัวเองแต่ไม่มีการเชื่อมต่อกับไฟฟ้านครหลวง จึงไม่ต้องขออนุญาตก่อนติดตั้ง เหมาะกับบ้าน หรือสถานที่ที่ไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง ซึ่งระบบนี้จะทำงานเหมือนกับระบบออนกริด (On-Grid System) และระบบไฮบริด (Hybrid System) คือรับพลังงานมาเข้าเครื่องแปลงไฟแล้วเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรงเป็นกระแสสลับมาใช้ในบ้าน

3. ระบบไฮบริด (Hybrid System)

Hybrid system

ผสมกันระหว่างระบบออนกริด (On-Grid System) และออฟกริด (Off-Grid System) คือเราสามารถสลับไฟไปใช้ของการไฟฟ้าได้ และมีแบตเตอรี่เป็นของตัวเองในการกักเก็บไฟไว้ใช้ในตอนกลางคืนที่ไม่มีแสงแดดได้ด้วย หากบ้านไหนไฟตกบ่อยก็สามารถเอาไฟฟ้าในแบตเตอรี่มาใช้งานได้ เรียกได้ว่าระบบนี้ตอบโจทย์การใช้งานมากที่สุด แต่อาจจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช่กันมากนักเนื่องจากราคาของแบตเตอรี่ค่อนข้างสูง ทำให้ใช้เวลาในการคืนทุนนาน

ลักษณะบ้านที่ควรติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

ลักษณะบ้าน solar rooftop

แผงโซลาร์เซลล์แต่ละระบบก็จะมีความเหมาะสมในการติดตั้งแบบที่ต่างกันออกไป แต่สำหรับที่เรานิยมกันคือระบบออนกริดจะเหมาะกับบ้าน โฮมออฟฟิศ ร้านอาหาร หรืออาคารที่ใช้ไฟกลางวัน เช่น โซลาร์เซลล์บ้านพักอาศัย ที่คนในครอบครัวที่อยู่บ้านในช่วงกลางวันกันฟลายคน บ้านที่มีผู้สูงอายุ หรือครอบครัวใหญ่ กลุ่มคนที่ทำงานที่บ้าน (work from home) และโฮมออฟฟิศที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้ามากในเวลากลางวัน และควรมีค่าไฟขั้นต่ำ 3,000 บาท เนื่องจากเป็นอัตราการใช้ไฟที่พอจะคุ้มค่ากับกำลังการผลิตไฟฟ้าขั้นต่ำของโซลาร์เซลล์

งบประมาณการติดตั้งและการคืนทุน

งบประมาณติดตั้ง solar rooftop

ปกติแล้วราคาและจำนวนวัตต์ของแผงโซลาร์เซลล์จะขึ้นอยู่กับแพ็กเกจของแต่ละที่ ซึ่งในการเลือกแพ็กเกจจะต้องคำนึงว่าเราใช้ไฟมากน้อยแค่ไหน บริเวณหลังคามีพื้นทีในการติดตั้งมากน้อยแค่ไหน

  • กำลังผลิตที่ 2-3 กิโลวัตต์ จะผลิตไฟฟ้าได้  200-400 หน่วย/เดือน หรือเท่ากับบ้านที่มีการใช้เครื่องปรับอากาศประมาณ 2 เครื่อง ราคาประมาณ 170,000 – 200,000 บาท
  • 5 กิโลวัตต์ ซึ่งจะสามารถลดค่าไฟได้ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท/เดือน มีราคาประมาณ 200,000– 300,000 บาท เหมาะสำหรับบ้านที่อยู่เป็นครอบครัว 4-6 คน หรือเสียค่าไฟประมาณ 3,000-7,000 บาท/เดือน โดยอาจจะมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าธรรมเนียมการขออนุญาต ค่าปรับปรุงโครงสร้างหากโครงสร้างบ้านไม่สามารถติดตั้งได้

ส่วนการคืนทุนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น การใช้ไฟของแต่ละบ้าน สภาพอากาศ และกำลังการผลิตที่ติดตั้งซึ่งโดยทั่วไปจะมีคืนทุนเฉลี่ยที่ 6-10 ปี โดยหลังจากคืนทุนแล้วเราจะสามารถใช้ไฟส่วนนั้นได้ฟรีถึงอายุรับประกัน 25 ปี (ทั้งนี้จะมีค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ที่เสื่อมตามอายุซึ่งอยู่นอกเหนือการรับประกัน และค่าบริการตรวจระบบและล้างแผงตามแต่แพ็กเกจที่ซื้อเพิ่ม)

ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์

  1. สำนักงานเขต เพื่อรับใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1) ในกรณีที่ขนาดพื้นที่ติดตั้งไม่เกิน 160 ตารางเมตรและมีน้ำหนักรวมของแผงโซล่าเซลล์และโครงสร้างรองรับทั้งหมดไม่เกิน 20 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ไม่ต้องขอใบอนุญาตก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร (อ.1) แต่ต้องแจ้งให้ทางเขตรับทราบเพื่อรับรู้ข้อกำหนดต่าง ๆ ที่อาจจะไม่เหมือนกันในแต่ละเขต
  2. การไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อให้เข้าตรวจสอบระบบและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า
  3. สำนักงานคณะกรรมการกับกิจการพลังงานเพื่อแจ้งขอเป็นผู้ประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นและขอรับใบอนุญาตทำการผลิตพลังงานควบคุม โดยลงทะเบียนที่สำนักงานหรือยื่นขออนุญาตทางออนไลน์ ที่เว็บ www.erc.or.th แนบหลักฐานต่างๆ รวมถึงใบอนุญาต อ.1 ด้วย
  4. ยื่นสำเนาหนังสือรับแจ้งยกเว้นการขออนุญาตฯ จากสำนักงานคณะกรรมการกับกิจการพลังงานต่อ การไฟฟ้านครหลวงหรือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  5. เมื่อผ่านการตรวจสอบระบบผลิต และเชื่อมโยงไฟฟ้าตามข้อกำหนดแล้ว ก็สามารถเริ่มใช้งานโซล่าเซลล์ระบบออนกริดบนหลังคาได้เลย

โดยปกติช่างจะติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ให้เสร็จภายใน 5 วัน แต่อาจจะต้องเผื่อเวลาไว้สำหรับการแจ้งขออนุญาตที่อาจกินเวลา 2-3เดือน

10 ประโยชน์ของการติดตั้งโซลาร์เซลล์

1. ประหยัดค่าใช้จ่าย

ประหยัดค่าใช้จ่าย solar rooftop

การมีหลังคาโซลาร์เซลล์สามารถช่วยให้คุณประหยัดค่าไฟฟ้าที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน ในกรณีที่คุณมีการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านบ่อยในเวลากลางวัน อีกทั้งหลังคาโซลาร์เซลล์ยังมีอายุการใช้งานกว่า 20 ปี เรียกได้ว่าเราสามารถประหยัดค่าไฟที่ต้องจ่ายไปได้นานหลายปีโดยทีเดียว และในปัจจุบันมีการใช้งาน IOT ในบ้านกันมากขึ้นซึ่งทำให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นด้วย รู้จัก IOT Internet of things ในบ้าน

2. ระยะเวลาคืนทุนสั้น

คืนทุนสั้น solar rooftop

ปกติแล้วการคืนทุนหลังจากติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะตกอยู่ที่ประมาณ 6 ปี ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่นานเมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์

3. มีความปลอดภัยสูง

ปลอดภัยสูง solar rooftop

การผลิตพลังงานจากโซล่าเซลล์เป็นกระบวนการที่มีความปลอดภัยสูงเนื่องจากไม่มีมลพิษที่อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนหรือสัตว์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ในระยะยาว จึงมั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัย

4. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม solar rooftop

เนื่องจากไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก โซลาร์เซลล์จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงคน และสัตว์อีกด้วย

5. เป็นพลังงานที่ใช้ได้ไม่มีวันหมด

พลังงานที่ใช้ไม่มีวันหมด solar rooftop

การทำงานของแผงโซลาร์เซลล์คือการเปลี่ยนพลังงานจากแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งแสงอาทิตย์คือพลังงานที่ไม่มีวันหมดทำให้เรามีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเพียงพอในชีวิตประจำวันนั่นเอง

6. ผลิตได้ทุกที่ที่มีแสงแดด

ผลิตได้ทุกที่ที่มีแสงแดด solar rooftop

อย่างที่เราทราบว่าโซลาร์ลเซลล์ผลิตจากแสงแดด ทำให้เราสามารถผลิตพลังงานได้จากทุกที่ ขอแค่มีแสงแดดส่องถึงเท่านั้น

7. มีการรับรองประสิทธิภาพ

มีการรับรองประสิทธิภาพ solar rooftop

ปกติแล้วโซลาร์เซลล์จะมีการรับประกันสินค้าประมาณ 20-25 ปี ซึ่งเป็นอายุการใช้งานที่ยาวนานมาก ๆ

8. การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ทำได้ง่าย

ติดตั้งง่าย solar rooftop

การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ในปัจจุบันไม่ยากอย่างที่หลายคนคิด ซึ่งเรียกได้ว่าขั้นตอนและความยุ่งยากนอยกว่าสมัยก่อน โดยสามารถดูขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ตามย่อหน้าด้านบน

9. เพิ่มมูลค่าให้กับบ้านของคุณ

เพิ่มมูลค่าให้บ้าน solar rooftop

กรณีที่ต้องการขายบ้านต่อ การซื้อบ้านที่ติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการใช้ไฟฟ้า ซึ่งช่วยให้บ้านหลังดังกล่าวมีความน่าสนใจมากขึ้น

10. ช่วยให้ไฟฟ้าเข้าถึงในชุมชนที่ไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้

เข้าถึงชุมชนที่ไม่มีไฟฟ้า solar rooftop

อย่างที่ทราบกันว่าโซลาร์เซลล์เป็นการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ เพราะฉะนั้นสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงเพื่อผลิตไฟฟ้าใช้เองได้

สิ่งที่ควรระวังก่อนที่จะทำการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์

ในการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์เราควรคำนึงถึงโครงสร้างและความแข็งแรงของกระเบื้อง ปกติหลังคาที่โครงสร้างเป็นเหล็กสามารถติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ได้ แต่ชนิดของกระเบื้อง ควรเป็นกระเบื้องที่ไม่แตกง่ายเพราะอาจจะเกิดการรั่วซึมได้ ซึ่งกระเบื้องที่ไม่เหมาะกับการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์คือกระเบื้องไฟเบอร์ซีเมนต์ เพราะเป็นแผ่นบาง ๆ ที่แตกหักได้ง่าย หากที่บ้านใช้กระเบื้องประเภทนี้อาจจะสามารถแก้ไขได้โดยการนำแผ่น metal sheet มารองก่อนที่จะวางแผงโซลาร์เซลล์ลงไป ส่วนกระเบื้องอื่น ๆ สามารถติดตั้งได้ตามปกติ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงทิศทางที่เหมาะสม ควรเป็นทิศใต้และทิศตะวันตกที่แดดค่อนข้างแรง 

อ่านมาถึงตรงนี้เพื่อน ๆ คงรู้กันแล้วว่าการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์นั้นไม่ยากอย่างที่คิด อีกทั้งยังมีประโยชน์มากมายซึ่งเรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการลงทุนเลยทีเดียว หากใครอยากจะประหยัดค่าไฟฟ้าที่บ้านในช่วง Work from Home แบบนี้ การติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจในยุคนี้

Chalita C.

Chalita C.

Chalita is an engineer and an experienced real estate investor. She has Master Degree in IT and Management (MIT-MBA) from James Cook University, Singapore.

Her blog contents cover in-depth guidelines that help real estate investors in Thailand.