7 วิธีทำสัญญาเช่าบ้านให้ปลอดภัยและรัดกุมด้วยตัวเอง

ในการที่เราจะปล่อยเช่าบ้าน ที่ดิน หรืออสังหาริมทรัพย์ ทุกครั้งจะต้องมีสัญญาเช่าเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งการทำของในบ้านเสียหาย หรือเบี้ยวค่าเช่า เพราะฉะนั้นจึงควรมีสัญญาเช่าที่รัดกุมและชัดเจนเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมา โดยการทำสัญญาจ้างที่ดีมี 7 วิธีด้วยกัน

 1. รายละเอียดพื้นฐานต้องครบถ้วน

รายละเอียดประเภทของสัญญา

ควรระบุให้ชัดเจนว่าสัญญาเช่านี้เป็นการ่าสินทรัพย์ประเภทไหน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด หรือที่ดิน

รายละเอียดวันที่/สถานที่ ทำสัญญา

หากไม่มีการระบุวันที่เริ่มต้นสัญญาเช่าก็จะถือว่าไม่มีผลบังคับใช้ และถือเป็นโมฆะ ส่วนนี้ถือว่าสำคัญมากเนื่องจากศาลจะนำไปพิจารณาอายุความของสัญญา และนำข้อมูลส่วนนี้ไปใช้ในกรณีที่มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น

รายละเอียดผู้เช่า-ผู้ให้เช่า

ชื่อ ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาบัตรประชาชนของคู่สัญญา

อสังหาริมทรัพย์ที่จะเช่า

เลขที่โฉนดที่ดิน เลขที่ตั้ง/เลขที่บ้าน ที่อยู่ สำเนาทะเบียนบ้าน และเนื้อที่ โดยต้องแนบแผนผังรูปถ่ายสิ่งปลูกสร้างและโฉนดที่ดินไว้ที่ท้ายสัญญา

ระยะเวลาในการเช่าทรัพย์

ควรระบุวันที่ให้เช่า และวันที่หมดสัญญา กรณีที่ระยะเวลาเช่าเกิน 3 ปี ต้องจดทะเบียนการเช่าที่กรมที่ดินและควรกำหนดว่าควรบอกล่วงหน้ากี่เดือนหากจะไม่ต่อสัญญา

2. กำหนดเงื่อนไขการชำระเงินและเงินประกัน

เงื่อนไขการชำระเงิน

  • กำหนดราคาเช่าต่อเดือนและวันที่ต้องจ่ายค่าเช่าของทุกเดือน
  • ระบุว่าผู้เช่าจะต้องจ่ายทั้งค่ามัดจำและค่าเช่าเดือนแรกในวันที่ทำสัญญา
  • ระบุการชำระค่าเช่า กรณีเงินสด ให้ระบุชื่อผู้ที่ต้องไปจ่าย กรณีโอนเข้าบัญชี ให้ระบุธนาคาร เลขที่บัญชี ประเภทบัญชี

เงินประกัน

ควรกำหนดค่ามัดจำทำสัญญาเนื่องจากจะเป็นหลักประกันว่าผู้เช่าจะไม่ทำทรัพย์สินของเราเสียหาย และเป็นหลักประกันในกรณีที่ผู้เช่าหนีหายไปก็สามารถริบเงินมัดจำนี้ได้ ปกติแล้วจะเรียกค่ามัดจำที่ 1-2 เดือนของราคาเช่า โดยผู้เช่าจะได้รับคืนหลังจากเช่าครบตามกำหนดสัญญา

3. ระบุข้อตกลง ข้อห้าม และความรับผิดชอบ

ควรระบุข้อตกลงในการทำสัญญาร่วมกันระหว่างผู้เช่าและผู้ให้เช่าตามรายละเอียดดังนี้

ข้อตกลงในการเช่าทรัพย์

กฎระเบียบในการอยู่อาศัย การอยู่ร่วมกันต่าง ๆ

  • ไม่ทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
  • การส่งเสียงดัง
  • การเลี้ยงสัตว์
  • สิ่งผิดกฎหมาย
  • การส่งมอบทรัพย์
  • การต่อเติมทรัพย์
  • การเข้าไปตรวจทรัพย์สิน
  • การแจ้งยกเลิกสัญญา

ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายอื่น ๆที่เกี่ยวเนื่องจากการเช่า: ค่าน้ำประปา ค่าไฟ ค่าขยะ

4.  แจ้งการผิดสัญญา และค่าปรับ

ระบุอย่างชัดเจนว่าถ้าผู้เช่าและผู้ให้เช่าละเมิดข้อตกลงจะต้องดำเนินการอย่างไร และแนวทางการระงับสัญญาเช่าเป็นอย่างไร

เงื่อนไขการผิดสัญญา

ปกติถ้าหากมีการผิดสัญญา ผู้ให้เช่าสามารถขอยกเลิกสัญญาพร้อมริบเงินมัดจำได้ทันที และผู้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สิน ที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างในสภาพเดิมเหมือนตอนแรกที่เช่า หากมีทรัพย์สินสูญหาย หรือเสียหายผู้เช่าต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย

 ค่าปรับ

  •  กรณีที่ทรัพย์สินเสียหายจะต้องชำระเป็นจำนวนเงิน หรือจ้างช่างมาซ่อมแซม
  • หากสิ่งปลูกสร้างเสื่อมสภาพต้องแจ้งให้ทราบเพื่อเข้าไปซ่อมแซม หากไม่แจ้งจะถือว่าผู้เช่าเป็นคนต้องรับผิดชอบ
  • หากทรัพย์สินสูญหายผู้เช่าจะต้องแจ้งให้ทราบทันที หากตรวจพบเองผู้เช่าจะต้องรับผิดชอบ

5. เขียนคำรับรอง และการเซ็นต์ชื่อรับรองรอง

สิ่งสำคัญที่สุดที่จะขาดไม่ได้ในการทำสัญญาเช่านั่นก็คือคำรับรอง และการเซ็นต์ชื่อเพื่อรับรองว่าทั้งผู้เช่า และผู้ให่เช่าได้ทำสํญญาร่วมกันนั่นเอง

6. แนบเอกสารแนบท้ายสัญญา

  • แบบสำเนาโฉนดที่ดิน
  • แปลนภาพถ่ายบ้าน และห้องต่าง ๆ
  • ระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์ที่ให้เช่าอย่างละเอียดพร้อมทั้งภาพประกอบ แนะนำให้ทำเป็นเช็คลิสต์รายการ อุปกรณ์ของตกแต่งต่าง ๆ เฟอร์นิเจอร์ สภาพห้องตามที่ตกลง ระบุรอยตำหนิ รอยขีดข่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการหลงลืมในกรณีที่ผู้เช่าอาศัยอยู่เป็นเวลานานต้องย้ายออกอาจจำไม่ได้ว่าสิ่งใดเป็นของตัวเอง หรือสิ่งใดเป็นของเจ้าของห้อง
  • มีช่องเซ็นชื่อรองรับท้ายสัญญา

7. แนบเอกสารระบุตัวตนของผู้ทำสัญญา

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน

เคล็ดลับในการทำสัญญาเช่าที่ดีและรัดกุม

  • ควรทำสัญญาเช่าไว้ 2 ฉบับ เพื่อให้ผู้เช่าเซ็นต์รับทราบทุกหน้า และเก็บฉบับหนึ่งไว้กับตัว
  • ระบุรายละเอียดตามข้อ 1 -7 ให้ชัดเจนและครบถ้วนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดกันทีหลัง
  • มีหนังสือสัญญาแนบท้ายสัญญาเช่า เป็นเช็คลิสต์รายการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการหลงลืม

ทั้งหมดนี้คือการเขียนสัญญาเช่าเพื่อป้องกัน และระมัดระวังปัญหาที่่อาจจะเกิดจากผู้เช่า อย่างการทำทรัพย์สินเสียหายหรือสูญหาย การจ่ายค่าเช่าล่าช้า หรือการหนีหายไม่ยอมจ่ายค่าเช่า การขอยกเลิกสัญญากระทันหัน จะเห็นได้ว่าสามารถทำได้ไม่ยากเลยเพียงแค่มีส่วนประกอบตาม 7 ข้อที่ได้กล่าวไปก็สามารถทำสัญญาที่รัดกุมและชัดเจนได้

แม้ว่าการมีสัญญาเช่าที่รัดกุมจะสำคัญกับผู้เช่าและผู้ให้เช่าแล้ว แต่อย่าลืมรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน เช่น การให้ของฝากในเทศกาลต่าง ๆ ตามความเหมาะสม เช่น ปีใหม่ไทย เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน

Vijittra M.

Vijittra M.

Vijittra is an entrepreneur, a marketer and a content writer. Contributing to LandPro website's growth, she authors detailed guides that help people to understand about real estate tips in Thailand.

Vijittra has an MBA from Asian Institute of Technology and worked with Singapore based tech company, SEA Group prior to co-founding Nepal101, a boutique adventure company based in Bangkok.