Leasehold กับ Freehold คืออะไรเลือกลงทุนแบบไหนดี

Leasehold คืออะไร อธิบายข้อแตกต่างพร้อมจุดเด่นของ Leasehold และ Freehold รวมถึงแนะนำ Leasehold โครงการน่าลงทุน ในกรุงเทพมหานคร

Leasehold คืออะไร

Leasehold

Leasehold คือ การเช่าซื้อถือครองอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว โดยตามกฎหมายจะถือครองได้สูงสุดไม่เกิน 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของโครงการนั้นๆ ทั้งนี้ผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์แบบ Leasehold จะถือได้ว่าไม่ได้มีกรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของ เข้าใจง่ายๆ เรียกได้ว่า Leasehold คือการ “เซ้ง” เป็นการจ่ายเงินเพื่อเเลกกับสิทธิในการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว

อสังหาริมทรัพย์แบบ Leasehold มักจะเป็นคอนโดมิเนียม (Leasehold Condominium) เนื่องจากส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่ตั้งอยู่บนพื้นที่เช่า (เจ้าของที่ดินกับเจ้าของโครงการเป็นคนละเจ้ากัน) หรือ โครงการที่ตั้งอยู่บนที่ดินราคาแพงมากๆ ในทำเลที่มีมูลค่ามหาศาล หรือ เป็นที่ดินของรัฐที่ไม่สามารถขายขาดได้ ดังนั้น ราคาคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold จะถูกกว่า ราคาคอนโดมิเนียมแบบ Freehold (ขายขาด) เมื่อเทียบในทำเลเดียวๆกัน

Freehold คืออะไร

Freehold

Freehold คือ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แบบขายขาด โดยเจ้าของโครงการทำการขายโอนกรรมสิทธิ์ให้กับผู้ซื้อได้อย่างถาวรแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา ผู้ถือครองอสังหาริมทรัพย์แบบ Freehold ถือได้ว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ครอบครองในอสังหาริมทรัพย์นั้นๆแบบ 100%

อสังหาริมทรัพย์แบบ Freehold เป็นรูปแบบที่พบได้ทั่วๆไป เนื่องจากอสังหาริมทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Freehold เข้าใจง่ายๆ คือสามารถขายขาดได้นั่นเอง

ข้อแตกต่างระหว่าง Leasehold กับ Freehold

Leasehold กับ Freehold

กรรมสิทธิ์การถือครอง

Leasehold เป็นสิทธิ์เช่าซื้อถือครองอสังหาริมทรัพย์ระยะยาว

Freehold การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์แบบขายขาด

ระยะเวลาการถือครอง

Leasehold สามารถถือครองได้ตามระยะเวลาในสัญญา และไม่เกิน 30 ปีตามกฎหมายกำหนด แต่สามารถต่อสัญญาใหม่ได้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและเงื่อนไขของโครงการนั้นๆ

Freehold ผู้เป็นเจ้าของสามารถถือครองได้ไม่มีกำหนดเวลา

การถือครองสำหรับชาวต่างชาติ

Leasehold สำหรับคอนโดแบบ Leasehold ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ไม่จำกัดสิทธิ์ เนื่องจากไม่ใช่การซื้อขายขาด

Freehold สำหรับคอนโดแบบ Freehold ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้ 49% จากจำนวนยูนิตทั้งหมด

ราคาเมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์

Leasehold ราคาถูกกว่าแบบ Freehold เมื่อเทียบทำเลเดียวกัน และค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ถูกกว่าแบบ Freehold

Freehold ราคาขายปกติ เทียบเท่าราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์ในทำเลนั้นๆ

ราคาเมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือผลตอบแทนเมื่อหมดสัญญา

Leasehold จะหมดมูลค่าเมื่อครบอายุสัญญา และไม่สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ได้

Freehold เนื่องจากคอนโดแบบ Freehold เป็นการซื้อขาด กรรมสิทธิ์ครอบครองไม่มีวันหมดอายุ จึงทำให้เมื่อเวลาผ่านไปแล้วต้องการขาย หรือโอนเปลี่ยนมือราคามักจะไม่ตก และส่วนใหญ่มักจะขายได้ราคาไม่น้อยกว่าราคาเมื่อซื้อมา

ความเสี่ยงกรณีเกิดภัยพิบัติ หรือเวนคืนที่ดิน

Leasehold หากเกิดการชำรุดเสียหายจากภัยพิบัติ หรือถูกเวนคืนที่ในช่วงที่ยังติดสัญญาเช่าอยู่ ผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์จะไม่ได้รับค่าชดเชยในส่วนของที่ดินและอาคาร

Freehold  หากเกิดการชำรุดเสียหายจากภัยพิบัติ หรือถูกเวนคืนขายที่ดิน ผู้ซื้อจะได้รับค่าชดเชยตามสัดส่วนในโฉนดที่ดิน

เงื่อนไขการกู้ธนาคาร

Leasehold มีโอกาสกู้ธนาคารได้วงเงินไม่เกิน 80%

Freehold มีโอกาสกู้ธนาคารได้วงเงินสูงสุด 100% หรือมากกว่าตามเงื่อนไขของธนาคาร

ตารางเปรียบเทียบ Leasehold กับ Freehold

ข้อแตกต่างระหว่าง Leasehold กับ FreeholdLeaseholdFreehold
กรรมสิทธิ์การถือครองสิทธิ์การเช่าซื้อสิทธิ์ขาด 100%
ระยะเวลาการถือครองตามสัญญา
(ไม่เกิน 30 ปี)
ถือครองตลอดไป
การถือครองสำหรับชาวต่างชาติไม่จำกัดสิทธิ์ไม่เกิน 49%
ราคาเมื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ราคาถูกกว่า 30%เทียบเท่าราคาตลาด
ราคาเมื่อขายอสังหาริมทรัพย์ ลดลง/หมดมูลค่าเมื่อครบสัญญามูลค่าเพิ่ม
ความเสี่ยงกรณีเกิดภัยพิบัติ ไม่ได้รับค่าชดเชยรับค่าชดเชยตามสัดส่วนในโฉนดที่ดิน
เงื่อนไขการกู้ธนาคารไม่เกิน 80%สูงสุดถึง 100%

ข้อดี-ข้อเสียของคอนโด Leasehold กับ Freehold

ข้อดีข้อเสีย Leasehold กับ Freehold

ข้อดีของคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold

  • ในทำเลเดียวๆกันราคาคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold จะถูกกว่า Freehold ประมาณ 30-40%
  • คอนโดมิเนียมแบบ Leasehold มักจะมีการเสนอบริการที่น่าสนใจ หรือจุดเด่นอื่นๆดึงดูดลูกค้ามากกว่า
  • ทำเลที่ตั้งของคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold มักจะเป็นทำเลที่ดีมากๆ อยู่ในย่าน CBD ใจกลางกรุงเทพมหานคร
  • ไม่มีข้อจำกัดสำหรับชาวต่างชาติ สามารถถือครองคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold ได้ไม่จำกัด

ข้อเสียของคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold

  • ไม่มีกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของ
  • วงเงินกู้ได้น้อยกว่า คอนโดมิเนียมแบบ Freehold
  • มีความเสี่ยงที่ไม่ได้รับค่าชดเชยกรณีเกิดภัยพิบัติ หรือถูกเวนคืนที่ดิน
  • เมื่อสิ้นสุดสัญญาจะหมดมูลค่า และไม่สามารถขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ได้

ข้อดีของคอนโดมิเนียมแบบ Freehold

  • กรรมสิทธิ์การเป็นเจ้าของ แน่นอนว่า คอนโดมิเนียมแบบ Freehold ได้เปรียบด้านกรรมสิทธิ์ไปเต็มๆ เนื่องจากเป็นการขายขาด ไม่ติดสัญญาใดๆ
  • สำหรับนักลงทุนที่ซื้อไว้เพื่อเก็งกำไรระยะยาว มูลค่าที่ดินมีโอกาสปรับขึ้น ดังนั้นนักลงทุนจะได้ผลตอบแทนทั้งในด้าน Capital Gain และค่าเช่าในกรณีปล่อยเช่า
  • คอนโดมิเนียม Freehold มีโอกาสกู้ธนาคารได้วงเงินสูงสุด 100% และจะได้รับค่าชดเชยกรณีเกิดภัยพิบัติ หรือเวนคืนที่ดิน

ข้อเสียของคอนโดมิเนียมแบบ Freehold

  • มีข้อจำกัดสำหรับชาวต่างชาติ เนื่องจาก คอนโดมิเนียมแบบ Freehold ชาวต่างชาติสามารถถือครองได้เพียง 49% จากจำนวนยูนิตทั้งหมด
  • ควรเลือก Developer ที่มีคุณภาพ เนื่องจากเวลาผ่านไป หากผู้ดูแลอาคารไม่ดีหรือไม่มีคุณภาพ ส่วนกลางไม่ได้รับการบำรุงรักษา คอนโดมิเนียมจะเก่าและทรุดโทรม ทำให้ขายยากและไม่น่าอยู่

เมื่อดูข้อเปรียบเทียบระหว่าง คอนโดมิเนียมแบบ Freehold กับแบบ Leasehold แล้ว หลายคนอาจคิดว่าแบบ Freehold น่าจะได้เปรียบกว่า แต่จริงๆแล้วคอนโดมิเนียมแบบ Leasehold ก็ได้รับความนิยม และเป็นเทรนด์ที่มาแรงสุดๆแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจาก ทำเลที่ตั้งที่สุดพรีเมี่ยม และในหลายๆที่เป็นที่ตั้งที่ไม่สามารถซื้อขายได้ และที่สำคัญคือ คอนโดมิเนียมแบบ Leasehold มักมาพร้อมข้อเสนอการบริการที่สุดประทับใจ เทียบเท่าโรงแรม หรือ Luxury Service Apartment เลยทีเดียว

แนะนำ Leasehold โครงการน่าสนใจ ย่าน CBD ใจกลางกรุงเทพมหานคร

ONE BANGKOK

One Bangkok
  • https://www.onebangkok.com/en/
  • สถานที่ตั้ง : ถนนพระรามที่ 4 เขตปทุมวัน
  • Developer : บริษัท ทีซีซี แอสเซ็ท จํากัด และ บริษัท เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ จํากัด

Dusit Residences และ Dusit Parkside

Dusit Residence
  • https://dusitresidences.com/
  • สถานที่ตั้ง : ถนนพระรามที่ 4 เขตบางรัก
  • Developer : บริษัท ดุสิตธานี จํากัด (มหาชน)

Aman Nai Lert Residences Bangkok

Aman Nai Lert Bangkok
Chalita C.

Chalita C.

Chalita is an engineer and an experienced real estate investor. She has Master Degree in IT and Management (MIT-MBA) from James Cook University, Singapore.

Her blog contents cover in-depth guidelines that help real estate investors in Thailand.