ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2567
การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคน และตามกฎหมายก็มีภาษีหลากหลายแบบยิบย่อย หนึ่งในนั้นคือ “ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง” หลายคนอาจจะยังงงว่าคืออะไรและตัวเองต้องเสียหรือไม่ เสียมากน้อยแค่ไหน ในบทความนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีใหม่ที่ถูกนำมาใช้แทน “ภาษีโรงเรือนและที่ดิน” และ “ภาษีบำรุงท้องที่” เพื่อแก้ปัญหาความไม่สมดุลของฐานภาษี ราคาภาษี และการลดหย่อนภาษี ส่วนแก่นสาระยังคงเดิม คือเพื่อลดการซื้อที่ดินกักตุนไว้เฉยๆโดยไม่ใช้ประโยชน์ ลดปัญหาการปั่นราคาที่ดิน และเพื่อนำภาษีมาเป็นค่าดูแลรักษาพื้นที่
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการจัดเก็บอย่างไร?
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะเก็บโดยคำนวนจากมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ โดยผู้ถือกรรมสิทธิ์เป็นผู้มีหน้าที่จ่ายภาษี ส่วนเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น(เทศบาล, ตำบล ฯลฯ) คือผู้เก็บภาษี
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2567
อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามลักษณะการใช้ประโยชน์
1. ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (เลี้ยงสัตว์หรือปลูกพืชผัก)
ทั้งนี้ ที่ดินนั้นๆจะเป็นที่ดินเพื่อการเกษตรหรือไม่จะต้องเข้าเกณฑ์ตามประกาศของกระทรวง สามารถศึกษารายละเอียดสำหรับที่ดินเพื่อการเกษตรได้จาก หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม หรือปรึกษาสำนักงานที่ดินตามที่ที่ดินตั้งอยู่
อัตราภาษีสำหรับเจ้าของที่เป็นบุคคลธรรมดาปี 2567
ปี 2565 ที่ดินที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
ในปี 2566 เป็นต้นไป จะได้รับยกเว้น 50 ล้านบาท
- 0 – 50 ล้านบาท = ไม่ต้องจ่าย
- มากกว่า 50-120 ล้านบาท = 0.01% (ล้านละ 100 บาท)
- มากกว่า 120– 150 ล้านบาท = 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มากกว่า 150 – 550 ล้านบาท = 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- มากกว่า 550-1,050 ล้านบาท = 0.07% (ล้านละ 700 บาท)
- 1,050 ล้านบาทขึ้นไป = 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-50 ล้านบาท | – | – |
50-120 ล้านบาท | 0.01% | ล้านละ 100 บาท |
120– 150 ล้านบาท | 0.03% | ล้านละ 300 บาท |
150 – 550 ล้านบาท | 0.05% | ล้านละ 500 บาท |
550-1,050 ล้านบาท | 0.07% | ล้านละ 700 บาท |
1,050 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | ล้านละ 1,000 บาท |
อัตราภาษีสำหรับเจ้าของที่เป็นนิติบุคคลปี 2567
- 0 – 75 ล้านบาท = 0.01% (ล้านละ 100 บาท)
- มากกว่า 75-100 ล้านบาท = 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มากกว่า 100 – 500 ล้านบาท = 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- มากกว่า 500 – 1,000 ล้านบาท = 0.07% (ล้านละ 700 บาท)
- 1,000 ล้านบาทขึ้นไป = 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-75 ล้านบาท | 0.01% | ล้านละ 100 บาท |
75-100 ล้านบาท | 0.03% | ล้านละ 300 บาท |
100 – 500 ล้านบาท | 0.05% | ล้านละ 500 บาท |
500 – 1,000 ล้านบาท | 0.07% | ล้านละ 700 บาท |
1,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | ล้านละ 1,000 บาท |
2. ที่ดินสำหรับปลูกสร้างที่อยู่อาศัย (บ้าน คอนโด ห้องชุด โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ)
อัตราภาษีสำหรับบ้านหลังหลัก
กรณีผู้เสียภาษีเป็นทั้งเจ้าของที่ดินและบ้าน และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (คำนวณจากมูลค่าที่ดินและตัวบ้าน)
- 0-50 ล้านบาท = ไม่ต้องจ่าย
- มากกว่า 50-75 ล้านบาท = 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มากกว่า 75-100 ล้านบาท = 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- 100 ล้านบาทขึ้นไป = 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-50 ล้านบาท | – | – |
50-75 ล้านบาท | 0.03% | ล้านละ 300 บาท |
75 – 100 ล้านบาท | 0.05% | ล้านละ 500 บาท |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | ล้านละ 1,000 บาท |
กรณีผู้เสียภาษีเป็นแค่เจ้าของบ้านอย่างเดียว และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (คำนวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
- 0-10 ล้านบาท = ไม่ต้องจ่าย
- มากกว่า 10-50 ล้านบาท = 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
- มากกว่า 50-75 ล้านบาท = 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มากกว่า 75-100 ล้านบาท = 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- 100 ล้านบาทขึ้นไป = 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-10 ล้านบาท | – | – |
10-50 ล้านบาท | 0.02% | ล้านละ 200 บาท |
50 – 75 ล้านบาท | 0.03% | ล้านละ 300 บาท |
75 – 100 ล้านบาท | 0.05% | ล้านละ 500 บาท |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | ล้านละ 1,000 บาท |
อัตราภาษีสำหรับบ้านหลังที่สอง หรือหลังอื่นๆ
ผู้เสียภาษีเป็นเจ้าของที่ดินหรือบ้าน (คำนวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
- 0-50 ล้านบาท = 0.02% (ล้านละ 200 บาท)
- มากกว่า 50-75 ล้านบาท = 0.03% (ล้านละ 300 บาท)
- มากกว่า 75-100 ล้านบาท = 0.05% (ล้านละ 500 บาท)
- 100 ล้านบาทขึ้นไป = 0.10% (ล้านละ 1,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-50 ล้านบาท | 0.02% | ล้านละ 200 บาท |
50-75 ล้านบาท | 0.03% | ล้านละ 300 บาท |
75 – 100 ล้านบาท | 0.05% | ล้านละ 500 บาท |
100 ล้านบาทขึ้นไป | 0.10% | ล้านละ 1,000 บาท |
3. ที่ดินเพื่อการพาณิชย์
อัตราภาษี (คำนวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
- 0-50 ล้านบาท = 0.30% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มากกว่า 50-200 ล้านบาท = 0.40% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มากกว่า 200-1,000 ล้านบาท = 0.50% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มากกว่า 1,000-5,000 ล้านบาท = 0.60% (ล้านละ 6,000 บาท)
- 5,000 ล้านบาทขึ้นไป = 0.70% (ล้านละ 7,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-50 ล้านบาท | 0.3% | ล้านละ 3,000 บาท |
50-200 ล้านบาท | 0.4% | ล้านละ 4,000 บาท |
200 – 1,000 ล้านบาท | 0.5% | ล้านละ 5,000 บาท |
1,000 – 5,000 ล้านบาท | 0.6% | ล้านละ 6,000 บาท |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% | ล้านละ 7,000 บาท |
4. ที่ดินเปล่า รกร้าง ไม่ได้ใช้ทำประโยชน์อะไร
อัตราภาษี (คำนวณจากมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
- 0-50 ล้านบาท=0.30% (ล้านละ 3,000 บาท)
- มากกว่า 50-200 ล้านบาท=0.40% (ล้านละ 4,000 บาท)
- มากกว่า 200-1,000 ล้านบาท=0.50% (ล้านละ 5,000 บาท)
- มากกว่า 1,000-5,000 ล้านบาท=0.60% (ล้านละ 6,000 บาท)
- 5,000 ล้านบาทขึ้นไป=0.70% (ล้านละ 7,000 บาท)
ราคาประเมินที่ดิน | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0-50 ล้านบาท | 0.3% | ล้านละ 3,000 บาท |
50-200 ล้านบาท | 0.4% | ล้านละ 4,000 บาท |
200 – 1,000 ล้านบาท | 0.5% | ล้านละ 5,000 บาท |
1,000 – 5,000 ล้านบาท | 0.6% | ล้านละ 6,000 บาท |
5,000 ล้านบาทขึ้นไป | 0.7% | ล้านละ 7,000 บาท |
ข้อสังเกต: ที่ดินเปล่า หากปล่อยไว้หลายๆปี ฐานภาษีจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากหากปล่อยรกร้างติดต่อกันนาน 3 ปี อัตราภาษีจะเพิ่มขึ้น 0.3% ทุกๆ 3 ปี แต่ไม่เกิน 3%
วิธีคำนวนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ปี 2567
ให้นำราคาประเมินของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นๆมาหักลบด้วยฐานภาษีที่ได้รับการยกเว้น จะได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นฐานภาษีที่ต้องจ่าย จากนั้นให้นำฐานภาษีที่ได้มาคูณอัตราภาษี ก็จะได้ราคาเป็นบาท ว่าต้องจ่ายเงินทั้งหมดเท่าไหร่
สามารถตรวจสอบราคาประเมินที่ดินได้จาก https://assessprice.treasury.go.th
แนะนำบทความ ตรวจสอบราคาประเมินที่ดินด้วยตัวเองพร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด เข้าใจง่าย
ช่องทางการชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อถึงเวลาที่ต้องเสียภาษี จะมีหนังจือแจ้งประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างส่งมาหาเจ้าของกรรมสิทธิ์ ซึ่งหลังจากที่เจ้าของกรรมสิทธิ์อ่านข้อความและเห็นว่าทุกอย่างถูกต้องแล้ว สามารถยื่นชำระภาษีที่สำนักงานเขตหรือสำนักงานท้องที่ ผ่านตู้เอทีเอ็มหรือบัตรเครดิต หรือผ่านช่องทางอื่นๆที่ร่วมรายการ
ค่าปรับและบทลงโทษ
หากเจ้าของกรรมสิทธิ์เสียภาษีช้ากว่ากำหนด เบื้องต้นจะมีเบี้ยปรับ แต่หากนานเกิน 1 เดือนจะมีสิทธิ์โดนอายัดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้
นอกจากนี้หากใครจงใจขัดขวางเจ้าพนักงานสำรวจ ไม่ให้มาตรวจประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะมีโทษเป็นเบี้ยปรับ จำคุก หรืออาจทั้งจำทั้งปรับ แล้วแต่กรณี